[Joint Statement] ACSC/APF 2022

[ภาษาไทย เลื่อนลงด้านล่าง]

[There’s also a solidarity action for Myanmar click]

Defending and Asserting Southeast Asian Peoples’s Civic Space, Democracy, and Human Rights Towards an Equitable and Just Society

Amidst the current turmoil caused by social, economic, political, and climate crisis in the region and at global levels, more than 500 participants with gender balance, from a diversity of civil society, ethnic minorities and groups, Indigenous Peoples, LGBTQIA+, Women, Persons with Disabilities, elderly, Buddhist monks, faith- based, migrant workers, informal workers, trade unions, farmers and fisherfolks, youths, human rights defenders, victims of land conflicts, victims of human right violations and people’s organizations of South East Asia gathered together in Phnom Penh, Cambodia from 3-5 November 2022. The inauguration started with a powerful drum performance by all-female cultural group from the host country calling for unity and solidarity among peoples of Southeast Asia, amplifying the voices of grassroots and marginalized communities, the spirit that has been carried on in the last 17 years.

The ASEAN Civil Society Conference/ASEAN Peoples’ Forum (ACSC/APF) aims to provide a safe space for peoples’ voices and strengthen an intersectional and cross-movement and cross-border solidarity among ASEAN civil society and peoples’ movements to generate sharing and learning and build solidarity towards an alternative regionalism amidst the rise of militarism and authoritarianism and backsliding democracy and to urge ASEAN Member States to better address inequality and human rights issues stemming from the ongoing COVID-19 pandemic, the Myanmar crisis, climate crisis, and other threats to human rights and regional stability, and to prioritize an inclusive and sustainable recovery for all peoples in South East Asia.

Over the past three days, through four plenaries and 20 workshops organized under the five convergence spaces, the ACSC/APF delegates collectively discussed the challenges faced, developed recommendations and alternatives by the Southeast Asian peoples and call on the ASEAN governments to take bold actions to address these challenges.

Defending Civic Space from Militarism & Authoritarianism

The attempted military coup on 1 February 2021 in Myanmar epitomized how the entrenched confluence of autocracy, militarism, and neoliberalism create a political, human rights, and humanitarian crisis. More than one and a half year since the attempted coup and the promulgation of the Five-Point Consensus, more than fifteen thousand people were arrested, and at least 2,300 innocent civilians were murdered by the military junta and the cruel executions. ASEAN and the international community have not taken serious actions to address the human rights, humanitarian, and COVID-19 crisis in Myanmar and to ensure justice for the long- persecuted Rohingya people. Some representatives of the National Unity Government (NUG) have since apologized for hurtful public remarks made during the height of the violence against Rohingya people in 2017. Corporate investments from countries like China, Australia, and Thailand have extensively shaped and sustained Myanmar’s economic and geopolitical interests of the military junta, which operates the country’s key businesses, further increased the challenges of efforts to move towards a genuine federal democracy based on human rights, equality, and inclusion. It was reminded that the National Unity Consultative Council (NUCC) process, currently the most open and hopeful policy development process, but those involved in this process have to endure the humanitarian devastation caused by daily military attacks by the illegal junta.

The key elements of structural and social exclusion which give rise to a string of human rights transgressions are also present in other ASEAN countries over the past years. Land rights victims, environmental activists and human rights defenders in several countries, are routinely judicially harassed and intimidated by state forces under the guise of “lese-majesty” “public order,” and/or “terrorism.” In Indonesia and Thailand, civil society groups protest the government’s Criminal Code and law revisions, which include provisions that undermine civic space. The recent sham elections in the Philippines as well as other countries in ASEAN, and the civil and political rights suppression of the opposition political party in the recent Cambodian elections are facets of growing authoritarianism and disinformation in the region. The election system and the election commission in many countries are still corrupted and prejudiced, undermining the conduct of fair elections. Victims, such as those under the Suharto government, are still seeking for the truth of 1965 massacre, and they request justice through reparation, rehabilitation, and confession from the government. With the humanitarian crisis and shrinking civic space getting more critical in Asia, we recommend:

  1. ASEAN Member States and Timor Leste to uphold human rights and level up their effort on the protection and promotion on human rights and to defend and stop violating the legitimate democratic rights of all peoples of ASEAN, especially young people at the forefront of human rights and democracy movements who faced threats of judicial harassment, enforced disappearances, even loss of life of those under militarization and authoritarian regime like Myanmar.
  2. The regional and international community to provide cross-border community-based humanitarian assistance for internally displaced people (IDPs), political refugees, and people in conflict affected areas. And the National Unity Government must step up efforts to make a national level public apology on what happened to Rohingya people, which is a key component of promoting transitional justice and a means to avoid the actions violating ethnic and minority rights.
  3. The security sector and the judicial system needs to be reformed systematically such as including a Transitional Justice process to ensure justice for victims.
  4. Build solidarity in concrete ways to fight together against militarism and authoritarianism, including the conducting of a massive and systematic voter education and civic education, pushing for electoral system reforms, collect stories, videos, and photos to document human rights violations and gender- based violence.

Combating Neoliberalism for Economic Justice, Climate Justice, and Food Sovereignty

ASEAN focuses on maintaining state and regional security, and its regional priority, through its ASEAN Economic Community (AEC), stresses competition and productivity but misses to integrate the principles of human rights due diligence, socioeconomic justice, climate justice, climate emergency and environmental sustainability. Neoliberalism in ASEAN have expanded the control of market and capital at the cost of worsening inequality, poverty, and environmental destruction, neglecting. The dearth of social protection measures was exposed by the COVID-19 pandemic which threatened the security, welfare, and livelihoods of its peoples. We recommend:

  1. That the Social and Solidarity Economy (SSE) could deliver the real contribution to decent work and SDGs, which was acknowledged by the International Labour Organization (ILO) and promoted by the UN Inter-Agency Task Force on Social and Solidarity Economy (UNTFSSE). The ASEAN secretariat should facilitate the socialization of the SSE among ASEAN Member States to enable the development of a SSE ecosystem and policy framework that empowers SSE enterprises, community and people focused grassroots organizations.
  2. ASEAN should take into consideration the distinct experiences, contexts, and important contribution to the economy of women and girls, in crafting economic policies that will create equal economic opportunities, especially toward climate change adaptation and mitigation, and take steps towards ending a culture of impunity against women and girls.
  3. Adopt and enforce inclusive, participatory, and transparent mechanisms and processes for assessment of agricultural digitalization to guarantee the actual needs, realities, and situations as determined by communities and peoples of Southeast Asia and ensure that digitalization will not aggravate environmental destruction and pollution, exacerbate the climate crisis, undermine food sovereignty, and worsen marginalization, economic disparity, and gender inequality.
  4. Indigenous Peoples (IP) have been governing and managing their lands, territories, and resources through their institutions, customary laws, and sustainable resource management knowledge and practices for generations. This knowledge needs to be recognized and their knowledge needs to be at the core of climate justice solutions, food sovereignty and in combating challenges posed by neoliberal economic practices. Human rights due diligence should be carried out in the first place, FPIC must be the basis of any business operations that are to be implemented in IP territories and other local communities and should be the basis of any policy dialogue.

Life with Dignity: Social Protection, Decent Work, and Healthcare for All in the Post COVID-19 Recovery

ASEAN has adopted the “ASEAN Declaration on Strengthening Social Protection’’, and a Regional Framework and Action Plan to implement, followed by high level conferences on social protection. However, ASEAN member countries lack the political will to implement the declaration. Privatization and austerity measures create a harmful socio-economic consequence to majority of people, increase poverty, wage theft, deteriorate income distribution, and pressures to scaling down social protection for vulnerable groups; women, children, youths, LGBTQIA+ people, elderly, people with disabilities, Indigenous Peoples and ethnic minority/groups, farmers, migrant workers, and those in the ‘missing middle’ such as workers in the informal economy, entertainment workers, sex workers, digital platform, and home-based workers. The Social and Solidarity Economy is a viable solution to re-balancing economic, social, and environmental objectives, by putting people and planet at the center, towards the future of work.

The services provided by the government are insufficient and not affordable for poor and marginalized people – home-based workers, those who are working in transport, healthcare, maintenance, homecare, domestic workers, migrant workers, persons with disabilities, women, and LGBTQIA+ people. There is still lack of coverage, services quality, and benefits of social protection for all people. Workers are discriminated because of their gender and employment status. In case of the migrant workers, they are excluded because of their immigration status and the sectors they are working in. In addition, since the COVID-19 pandemic, the Governments have applied austerity measures including scaling down public services and social protection programs for women, children, the elderly and other vulnerable people. We recommend:

  1. Social protection, including healthcare, decent wage, as human rights for all, regardless of gender, religion, ethnicity, citizen, and economic status must be implemented, improve the accessibility, affordability, and quality, including essential benefits packages of voluntary social protection programs for informal workers. The social protection schemes must not be based on contribution. Governments should provide maternity protection for all women in need, including maternity leave and paternity leave, productive healthcare, childcare, unemployment allowance, and access to care allowance.
  2. Strengthen national laws, policies, and regulations to help migrant workers and their families cope with and build resilience in times of future crises. Inclusive social protection measures and health care coverage, including but not limited to mental health and psychosocial support, should be provided. Therefore, we call upon the government to accelerate portability of social security benefits that migrant workers are entitled to, through multilateral or bilateral social security agreements.
  3. Realizing Universal Social Protection, including Healthcare for all, by developing its response capacity to prepare, cope and adapt to strengthening people’s resilience towards future shocks, such as climate and health crisis.
  4. Public social services should be available with good quality, accessible, and affordable to everyone who needs it. The Governments should stop privatization of the public social services to reduce out- of-pocket payments to health care and education. The Governments should increase progressive taxes on corporate profits, financial activities, wealth, digital services, etc. and re-allocate public expenditures for larger social impacts investments.

Peace and Human Security

The world, particularly in the Indo-Pacific and Southeast Asia, is currently going through complicated changes and existential threats at alarming rate and complexities never seen in recent decades. The great power strategic competition, especially between US and China has made the situation in the region become more complicated. The Ukraine crisis, caused by major power rivalry and the ignorance of international law has increase the risk of a new arm races and undermined the peace and security environment in Asia in general and ASEAN in particular. Besides, the situation in Myanmar had posed several challenges to regional social- economic recovery in the post-COVID-19 pandemic era, hindering the development and well-being of people in Myanmar as well as ASEAN in general. The never-ending conflicts and disputes in ‘hot spots’, including the South China Sea, the Korean Peninsula, Taiwan Strait, the plague of terrorism, extremist politicized religious fundamentalisms are threatening people’s security and livelihood.

Non-traditional security issues including environmental pollution, climate change emergency, digital security problems, migration, forced displacement of Indigenous Peoples, ethnic minorities/groups, such as the Khmer Krom, and the severe refugee crises are due to the resurgence of islamophobia, racism, homophobia, xenophobia, which continues to evolve in complex and dangerous ways that negatively impact people, communities and states. We recommend:

  1. Take proactive steps towards the settlement of disputes by peaceful means, in accordance with international law, including the United Nations Charter, the Paris Peace Agreement 1991, the UNCLOS 1982 and refrain from the use of force or threat of using force in international relations and instead promote dialogue in dealing with conflicts and develop platforms for a dialogue process for common security.
  2. Take necessary steps to reduce military spending and transfer money to social needs including transparency in the accounting of arms sales; promote the ratification of the Treaty for the Prohibition of Nuclear Weapons in Asia and expand the model of ASEAN Nuclear-Weapon-Free-Zone to other regions in the world, including Northeast Asia.
  3. Take proactive actions to deal with non-traditional threats to human security and livelihood in a sustainable manner, including the adaptation to climate change, ensuring of food security and development of non-hydropower renewable energy and protection of water resource in the Mekong River.
  4. ASEAN to uphold the rights-based regional architecture and ASEAN people-led mechanism for human peace, security, and human rights.

Southeast Asian Peoples’ Alternative Regionalism

More than fifty years after the inception of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), it has failed to meaningfully address the issues and concerns of Southeast Asian peoples, and has only benefited the elites, political oligarchies, and corporate interests while social inequalities have exacerbated. The COVID-19 pandemic has shown that ASEAN’s official responses were largely tokenistic and inefficient, and were greatly marginalizing, particularly on the women migrant workers, informal economy workers, LGBTQIA+, Indigenous Peoples, ethnic minorities/groups, stateless and internally displaced peoples, workers, and the urban poor. ASEAN governments have also weaponized the crisis through silencing dissent and misinformation to further hamper and weaken the movement of Southeast Asian peoples. Despite these, peoples’ organizations and grassroots communities continued to devise ways to mitigate the adverse effects of the pandemic and exemplify cross-border solidarity and mutual aid.

Through the Southeast Asia civil society’s continuous efforts to unite and collectively engage ASEAN, it has gained ample wisdom to move beyond merely engaging the state-led regional body, and to develop a vision of alternative regionalism that is firmly linked with grassroots initiatives based on the principles of solidarity, cooperation, mutual benefits, the commons, and joint development. Alternative regionalism offer an important approach to use in advocating the recognition and the acceptance of human rights tangent to sexual orientation, gender identity & expression and sex characteristic; safe working conditions and living wages; social protection; right to land, resources, and self-determination; access to healthcare; support for victims of gender-based violence and discrimination; digital rights; agrarian reform and sustainable food systems; and inclusive housing and city/urban planning processes.

This alternative form of regionalism is strengthened and reinforced by the People-to-People (P2P) Exchange which allow peoples to learn together and from each other, share resources, build solidarity, and improve strategies. This process of coming together is international relations founded on cross-border solidarity of non-state players, mostly by civil society organizations. From these interactions, progressive national and international policies have become introduced, and eventually adopted by governments through pressure and collective action. To strengthen alternative regionalism, what is needed is networking on many levels based on common bonds and linking with diverse platforms of engagement at the local, national, regional, and global levels that brings together practitioners of alternative development practices. We recommend:

  1. Strengthen cross-border solidarity and regional integration in Southeast Asia through providing spaces where the best practices of marginalized groups and grassroots organizations can be improved and harnessed. And in building strong peoples’ solidarity movements, identify common cross border issues and certain mechanisms for support, including funding, and at the same time, institutionalize the different forms of intersectionality across borders. ASEAN Member States should review the ASEAN article on non-interference and recognize the legitimacy of the CSOs.
  2. Political reforms should be undertaken with the inclusion of CSOs. Labour laws must guarantee workers’ rights including migrant workers, domestic workers and informal workers, especially the right to form unions, the right to strike and collective bargaining, and criminalization of leaders of workers’ rights must be withdrawn immediately. Gender-based violence (GBV) in the workplace must be addressed through sharing of lessons learnt among ASEAN stakeholders through strategies to build capacities of organizations, develop guidelines, and responsive measures.
  3. Continue the people-to-people exchanges between alternative practitioners in Southeast Asia and extend this initiative in partnership with other regions beyond the ACSC/APF.

CONCLUSION AND MOVING FORWARD

This meaningful 3-day ASEAN Peoples’ Forum in Southeast Asia the home to more than 600 million citizens throughout the region, provides a platform for exchange, dialogues and debates on a broad range of concern issues on various areas:

  • Defending Civic Space from Militarism & Authoritarianism – Rather than speeding up the hopeful picture while inking their signature on domestic and international human rights instruments and treaties, ASEAN Member States have seriously failed to adhere to their obligation to respect, protect and fulfil human rights, causing suffering on their human fellows across the region, so far as to the level of militarization and authoritarianism. Member States have to uphold human rights and level up their effort on the promotion and protection on human rights in all fronts.
  • Combating Neoliberalism for Economic Justice, Climate Justice, and Food Sovereignty – While putting a lot of efforts to boost economy via all forms of Free Trade Agreements, and believing that macro-economic growth is the only means to race to the top, ASEAN and its Member States are discounting the people to the secondary. In rectifying this mistake, human rights due diligence should be carried out in the first place, Free, Prior, and Informed Consent (FPIC) must be the basis of any business operations that are to be implemented in IP territories and other local communities and should be the basis of any policy dialogue.
  • Life with Dignity: Social Protection, Decent Work, and Healthcare for All in the Post COVID-19 Recovery – COVID-19 pandemics have exposed inadequate structures and infrastructures to meet people’s need and this should have humbled the ASEAN and its Member States including Timor Leste. It is high time Universal Social Protection, including Healthcare for all come into existence as a state’s obligation, by developing its response capacity.
  • Peace and Human Security – Peace in the absence of war alone has seemed to become the current leaders’ narratives, while human security protection in the form of bolstering military muscles have seemed to become the norm. While the former creates ignorance to peace in mind and in nature; the latter failed to pay attention on non-traditional and emerging threats of human security. There is thus a need to take necessary steps to reduce military spending and transfer money to social needs including transparency in the accounting of arms sales; promote the ratification of the Treaty for the Prohibition of Nuclear Weapons in Asia and increase the spending on non-traditional threats to human security.
  • Southeast Asian Peoples’ Alternative Regionalism – After more than 50 years of forming the ASEAN as a regional body, annual auspicious gatherings in the forms of various Senior Ministers and Leader Summit make false belief that the government is the only entity to bring the region forwards. It has been proved once and again, especially during disasters, both natural and man-made, or the recent COVID-19 pandemics, that it is people-to-people solidarity that prevail. Political reforms should be undertaken with the inclusion of CSOs. Labour laws must guarantee workers’ rights including migrant workers, domestic workers and informal workers.

ASEAN has adopted for the first time in its history, the term “Human Rights” in its official document ASEAN Charter 2007 especially article 14 concerning the establishment of ASEAN Human Rights Body – given the space for further development. In October 2009, AICHR was established in response to the call by civil society and international community but so far still not being able to function well. Later, ASEAN Human Rights Declaration (AHRD) and Phnom Penh Declaration were adopted in 2012 without binding obligation for the states to put into practice. AICHR Term of Reference should be reviewed accordingly as part of the ASEAN new Human Rights architecture.

The great challenges are before us. Therefore, we believe our collective efforts will bring about meaningful changes in favour of our beloved peoples, citizens and social progresses.

We commit ourselves to work together and in cooperation with our partners both local, regional and international to meaningful social transformation based on justice, equality, well-beings, and peaceful livelihood of all peoples throughout the region.

We call on ASEAN and its Member States to heed the basic principles and uphold Hunan Rights in accordance with the ASEAN Charter 2007 and universally accepted international laws. Pressing the military junta to hand off power and return the country to democracy in Myanmar is an important effort to safeguard millions of lives who are at stake.

We call on ASEAN and its Member States to hold such meaningful dialogues and engaging the state representatives, SOM, AMM, ASEAN Community Pillars, AICHR, ACWC, ACMW and the ASEAN Secretariat to ensure the people-centered ASEAN.

We look forwards to substantive progress of ASEAN State Leaders in implementing the ASEAN 2025 vision, ASEAN Human Rights Declaration and other relevant international Human Rights obligations. Political wills and seriousness are important to ensure the accountability of those who are holding such policy making and administrative power.

We, the civil society needs to join hands, regionally and globally, to strengthen international and regional solidarity to challenge militarism, and authoritarianism, to challenge state repression across the world. An innovation channel to be developed.

We, the participants of the ACSC/APF 2022 express our sincere thanks to the host organizations, the regional steering committees, all committee working groups, convergence space co-convenors, workshop organizers, speakers, panelists, volunteers, interpreters, technical staff and working staff of the event venue.

We look forward to ACSC/APF in Indonesia in 2023.

Together, We Shall Overcome!

The People, United, We Will Never Be Defeated!

Adopted November 5, 2022, Phnom Penh, Cambodia

.

[แถลงการณ์ร่วม]

การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียนและวงประชุมประชาชนอาเซียน 2022 –  ปกป้องและดำรงพื้นที่ทางสังคม ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสังคมที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

ท่ามกลางความโกลาหลจากวิกฤตสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคและในระดับโลก ผู้เข้าร่วมจำนวนมากกว่า 500 คน ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเพศ หลายภาคประชาสังคม หลายชาติพันธุ์ หลากชนพื้นเมือง กลุ่ม LGBTQIA+ ผู้หญิง ผู้พิการ[1] ผู้สูงอายุ พระสงฆ์ กลุ่มผู้ศรัทธา แรงงานย้ายถิ่น แรงงานนอกระบบ สหภาพแรงงาน เกษตรกรและชาวประมง เยาวชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เหยื่อข้อพิพาทที่ดิน เหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และองค์กรเพื่อมวลชนต่างๆ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รวมตัวกันที่กรุงพนมเปญ กัมพูชาเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่ 3-5 พฤศจิกายน 2022 เราเริ่มต้นพิธีเปิดด้วยการแสดงตีกลองจากกลุ่มนักแสดงหญิงล้วนในวัฒนธรรมกัมพูชา เรียกร้องความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความร่วมแรงร่วมใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสียงของชุมชนรากหญ้าและชุมชนชายขอบ พิธีนี้ดำเนินตลอด 17 ปีที่ผ่านมาและมีความสำคัญทางจิตวิญญาณ

การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน (ACSC) และวงประชุมประชาชนอาเซียน (APF) ต้องการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ประชาชนได้ส่งเสียงและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่การเคลื่อนไหวในหลายประเด็น รวมทั้งสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันข้ามพรมแดนในกลุ่มประชาสังคมอาเซียนและขบวนการเคลื่อนไหวของมวลชน เพื่อแบ่งปัน เรียนรู้ และสร้างความร่วมแรงร่วมใจสู่ภูมิภาคนิยมทางเลือก ท่ามกลางลัทธินิยมทหาร นิยมเผด็จการ และกระแสประชาธิปไตยถอยหลัง และเพื่อกระตุ้นให้รัฐสมาชิกอาเซียนจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำและประเด็นสิทธิมนุษยชนหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิกฤตในเมียนมา วิกฤตสภาพภูมิอากาศ และภัยคุกคามต่อสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงในภูมิภาค และเพื่อให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตลอดสามวันนั้น จากห้องประชุม 4 ห้องและเวิร์คช็อป 20 หัวข้อที่จัดภายใต้ 5 พื้นที่ร่วม ผู้แทนจากการประชุม ACSC และ APF ได้ร่วมกันปรึกษาหารือถึงความท้าทายที่ได้เผชิญมา ออกแบบข้อเสนอและทางเลือกต่างๆ โดยราษฎรอาเซียน พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดการปัญหาและความท้าทายนี้อย่างจริงจัง

ปกป้องพื้นที่พลเมืองจากเผด็จการทหารนิยม

การพยายามรัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 (พ.ศ. 2564) ในเมียนมาแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้น ระหว่างเอกาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการ ลัทธิทหารนิยม และระบบเสรีนิยมใหม่ จนทำให้เกิดวิกฤตการเมือง วิกฤตสิทธิมนุษยชน และวิกฤตด้านการขาดมนุษยธรรม จนถึงตอนนี้ ก็นับเป็นเวลาปีครึ่งแล้วหลังเกิดรัฐประหารและประกาศใช้ฉันทามติ 5 ข้อ แต่ประชาชนจำนวนมากกว่า 15,000 คนก็ยังถูกจับ และผู้บริสุทธิ์อย่างน้อย 2,300 คน ถูกเผด็จการทหารฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม อาเซียนและประชาคมนานาชาติไม่ได้จัดการดูแลวิกฤตสิทธิมนุษยชน การขาดมนุษยธรรม และวิกฤตหลังโควิด-19 อย่างจริงจัง

ตัวแทนบางคนจากรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ได้กล่าวคำขอโทษที่มีการพูดถึงชาวโรฮินจาอย่างน่าเจ็บปวดในพื้นที่สาธารณะ ระหว่างช่วงเวลาที่มีการใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮินจาสูงมากในปี 2017 (พ.ศ. 2560) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมต่อชาวโรฮินจาที่ถูกข่มเหงมาอย่างยาวนาน บริษัทนานาชาติทั้งออสเตรเลีย จีน และไทยที่เข้าไปลงทุน ได้ส่งเสริมและทำให้เผด็จการทหารเมียนมายังดำรงอยู่ต่อไปได้ จากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมือง[2] การลงทุนนี้เป็นตัวการดำเนินธุรกิจหลักของเมียนมาและทำให้ความพยายามสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยที่แท้จริงและตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม และครอบคลุมทุกกลุ่มคน ยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ ระบบสภาปรึกษาหารือเพื่อเอกภาพแห่งชาติ (NUCC) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนานโยบายที่เปิดกว้างและมีความหวังที่สุดยังคงดำรงอยู่ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ NUCC ยังต้องทุกข์ทนกับการโจมตีรายวันอย่างไม่มีมนุษยธรรมของเผด็จการทหาร

องค์ประกอบสำคัญที่กีดกันผู้คนในเชิงโครงสร้างและเชิงสังคมและทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็สามารถพบเจอได้ในประเทศอาเซียนอื่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งกรณีเหยื่อสิทธิที่ดิน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้คนเหล่านี้ต้องเจอกับการข่มขู่ผ่านคดีความอยู่เป็นประจำและถูกคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศ ภายใต้ข้ออ้าง “การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” “ความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ” และ/หรือ “การก่อการร้าย”

ภาคประชาสังคมได้ประท้วงต่อต้านประมวลกฎหมายอาญาและการปรับปรุงกฎหมายที่ลดพื้นที่พลเมืองในอินโดนีเซียและไทย แต่การเลือกตั้งปลอมๆ ครั้งล่าสุดในฟิลิปปินส์ก็ยังไม่ต่างกับประเทศอื่น เช่นกัมพูชาก็มีการตัดสิทธิทางการเมืองของพรรคฝ่ายค้านในการเลือกตั้ง กระบวนการทั้งหมดนี้เป็นที่มาของลัทธินิยมเผด็จการและการสร้างข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคนี้

ระบบเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้งในหลายประเทศยังคงคดโกงและมีแต่อคติ จนลดทอนการเลือกตั้งที่เป็นธรรม เหยื่อยังคงต้องการการเปิดเผยความจริงในการสังหารหมู่ 1965 (พ.ศ. 2508) ภายใต้รัฐบาลซูฮาร์โต พวกเขายังเรียกร้องความยุติธรรมผ่านการเยียวยา ฟื้นฟู และการยอมรับผิดจากรัฐบาลเนื่องจาก สถานการณ์พื้นที่พลเมืองลดลงและวิกฤตการขาดมนุษยธรรมกำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เราขอยืนยันว่า

  1. รัฐสมาชิกอาเซียนและติมอร์เลสเตต้องยึดถือสิทธิมนุษยชนและเพิ่มความพยายามคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปกป้องและหยุดละเมิดสิทธิประชาธิปไตยของราษฎรทุกคนในอาเซียน โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นแนวหน้าการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เยาวชนเหล่านี้ต้องเจอการข่มขู่คุกคามผ่านการฟ้องร้อง รัฐบังคับให้สูญหาย หรือต้องเสียชีวิตภายใต้เงื้อมมือระบอบเผด็จการทหารนิยมอย่างเมียนมา
  2. ประชาคมในภูมิภาคและประชาคมนานาชาติต้องเข้าช่วยเหลือข้ามพรมแดนด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมและการคำนึงถึงชุมชน เพื่อประโยชน์ของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDPs) ผู้ลี้ภัยทางการเมือง และผู้คนในพื้นที่พิพาท รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ต้องกล่าวคำขอโทษในพื้นที่สาธารณะต่อสิ่งที่ชาวโรฮินจาต้องเผชิญในระดับประเทศ ซึ่งสำคัญต่อความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และเป็นการกระทำที่หลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิชาติพันธุ์และสิทธิของชนกลุ่มน้อย
  3. ต้องปฏิรูปฝ่ายความมั่นคงและกลไกศาลอย่างเป็นระบบ เช่น เพิ่มกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เหยื่อได้รับความเป็นธรรม
  4. สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อต่อต้านลัทธินิยมเผด็จการทหาร สร้างเรียนรู้ขนานใหญ่แก่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ ปฏิรูประบบการเลือกตั้ง เก็บรวบรวมเรื่องราว วิดีโอและภาพถ่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือความรุนแรงทางเพศ

ต่อสู้กับเสรีนิยมใหม่ เพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงทางอาหาร

อาเซียนนั้นสนใจแต่การคงอยู่ของรัฐและความมั่นคงในภูมิภาค หรือสนใจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่เอื้อให้เกิดการแข่งขันและประสิทธิภาพการผลิต แต่กลับไม่สามารถยึดโยงตนเองกับหลักการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศอันเร่งด่วน หรือสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ ลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้แผ่ขยายครอบคลุมตลาดและทุนในอาเซียน นำพาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการล่มสลายของสภาพแวดล้อม เมื่อโควิด-19 แพร่ระบาด เราจะเห็นได้ชัดว่า การขาดมาตรการคุ้มครองทางสังคมนั้น ทำลายความมั่นคง สวัสดิการ และการดำรงชีวิตของผู้คน เราขอยืนยันว่า

  • เศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์ (SSE) นั้นสามารถสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าและส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ได้ ซึ่งองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ก็ได้ยอมรับในข้อนี้ โดยคณะทำงานร่วมว่าด้วยเศรษฐกิจสมานฉันท์แห่งสหประชาชาติ (UNTFSSE) ก็สนับสนุนรูปแบบเศรษฐกิจนี้ ฉะนั้นแล้ว เลขาธิการอาเซียนควรเอื้อให้เกิดกระบวนการทางสังคมของ SSE ระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนเพื่อสร้างระบบนิเวศและนโยบายของ SSE ที่เอื้อต่อวิสาหกิจ ชุมชน และองค์กรรากหญ้าที่ทำงานเรื่องผู้คน
  • อาเซียนต้องคำนึงถึงประสบการณ์และบริบทที่แตกต่างของเด็กหญิงและผู้หญิง ต้องเห็นความสำคัญของสิ่งที่พวกเธอให้แก่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อออกแบบนโยบายเศรษฐกิจและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียม โดยเฉพาะเวลาปรับตัวและฟื้นตัวสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และเพื่อยุติวัฒนธรรมการยกโทษให้ผู้กระทำความรุนแรงต่อเด็กหญิงและผู้หญิง
  • รับและใช้งานกลไกและกระบวนการเกษตรดิจิตอลที่ครอบคลุม มีส่วนร่วม และโปร่งใส เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง และสถานการณ์ที่ชุมชนและประชาชนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญ ดูแลให้กระบวนการดิจิตอลนั้นไม่ทำร้ายและสร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากไปกว่าเดิม ไม่ทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น ไม่ลดทอนอธิปไตยทางอาหาร ไม่ผลักดันคนชายขอบ หรือสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความไม่เท่าเทียมทางเพศ
  • ชนพื้นเมือง (IP) ได้ดูแลและจัดการผืนดิน เขตแดนและทรัพยากรของพวกเขาผ่านสถาบันและกฎจารีตประเพณี ด้วยความรู้และวิธีการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนเป็นเวลาหลายต่อหลายรุ่น ความรู้นี้ต้องได้รับการยอมรับและนับถือเป็นวิธีรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ สร้างอธิปไตยทางอาหาร และเป็นวิธีต่อสู้กับความยากลำบากเพราะเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ธุรกิจต้องตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ตั้งแต่กระบวนการแรก และใช้หลักการมีส่วนร่วมตัดสินใจและให้ความยินยอมอย่างอิสระโดยได้ข้อมูลล่วงหน้า (Free, Prior, and Informed Consent – FPIC) เป็นพื้นฐานของธุรกิจใดๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้นหรือจะดำเนินการในพื้นที่ของชนพื้นเมืองหรือชุมชนท้องถิ่น และหลักการนี้ต้องเป็นพื้นฐานของกระบวนการหารือเชิงนโยบายอีกด้วย

ชีวิตที่มีเกียรติ: การคุ้มครองทางสังคม งานที่มีคุณค่า ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในการฟื้นฟูหลังยุคโควิด-19

อาเซียนได้รับรอง “คำประกาศอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความคุ้มครองทางสังคม” (ASEAN Declaration on Strengthening Social Protection) กรอบการทำงานในภูมิภาค และแผนปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการ รวมทั้งประชุมเรื่องนี้ในระดับสูงอีกหลายครั้ง

แต่รัฐสมาชิกอาเซียนยังขาดเจตจำนงทางการเมืองเพื่อดำเนินการตามคำประกาศนั้น กระบวนการเปลี่ยนให้เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล (privatization) และมาตรการที่เข้มงวด ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทำร้ายผู้คนส่วนใหญ่ เกิดความยากจน การช่วงชิงค่าแรง ขัดขวางการกระจายรายได้ รวมทั้งกดดันว่าจะลดการคุ้มครองทางสังคมแก่กลุ่มเปราะบาง (ผู้หญิง เด็ก เยาวชน กลุ่ม LGBTQIA+ ผู้สูงอายุ ชนพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ เกษตรกร แรงงานย้ายถิ่น และคนที่ ‘ไม่มีอยู่’ เช่น แรงงานนอกระบบ แรงงานในสถาน/วงการบันเทิง แรงงานบริการทางเพศ แรงงานดิจิตอล และผู้ทำงานจากบ้าน) เศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์ (SSE) เป็นรูปแบบเศรษฐกิจหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ และนำความสมดุลกลับมาในเป้าหมายเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงผู้คนและระบบนิเวศเป็นหลักเพื่ออนาคตของการทำงาน

บริการจากรัฐนั้นมีไม่เพียงพอและคนหลายกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงได้ ทั้งคนจน คนชายขอบ คนทำงานจากบ้าน แรงงานขนส่ง ระบบสุขภาพ ซ่อมบำรุง ดูแลบ้าน ทำงานบ้าน แรงงานย้ายถิ่น ผู้พิการ ผู้หญิง และกลุ่ม LGBTQIA+ ทั้งนี้ ความคุ้มครองทางสังคมซึ่งทุกคนควรได้รับก็ยังไม่ครอบคลุม ไม่มีคุณภาพ และไม่มีสิทธิประโยชน์ แรงงานยังคงถูกกีดกันด้วยเหตุผลทางเพศและสถานะการทำงาน สำหรับแรงงานย้ายถิ่น พวกเขาถูกกีดกันจากสถานะการเข้าเมืองและภาคธุรกิจที่ทำงานอยู่ นอกจากนั้น ตั้งแต่มีโควิด-19 รัฐบาลก็ใช้มาตรการเข้มงวด ลดบริการสาธารณะและลดโครงการให้ความคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้หญิง เด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางลง เราขอยืนยันว่า

  • ต้องให้ความคุ้มครองทางสังคมทั้งด้านสุขภาพและให้ค่าแรงที่เหมาะสม เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนควรได้ ไม่ว่าจะมีเพศอะไร เคารพศาสนาไหน มีเชื้อชาติหรือสัญชาติอะไร มีสถานะทางเศรษฐกิจแบบไหน โดยต้องเพิ่มการเข้าถึง ลดราคาที่ต้องจ่าย เพิ่มคุณภาพ เพิ่มสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานสำหรับแรงงานนอกระบบที่ต้องการความคุ้มครองทางสังคม ต้องไม่ใช้เงินเป็นฐานของการคุ้มครอง รัฐบาลต้องให้การคุ้มครองแก่แม่ทุกคนที่จำเป็นต้องได้รับ ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดสำหรับลาคลอดหรือวันหยุดสำหรับเลี้ยงดูลูกแก่พ่อและแม่ การดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ การเลี้ยงดูเด็ก เงินอุดหนุนการว่างงาน และการเข้าถึงเงินดูแลเด็ก
  • ต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกฎหมายในประเทศ นโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้แรงงานย้ายถิ่นและครอบครัวของพวกเขาสามารถดำรงชีวิตต่อในวิกฤตข้างหน้าได้อย่างยืดหยุ่น สร้างความคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุม มีประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงบริการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตหรือด้านจิตสังคม ดังนั้น เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มประสิทธิภาพและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่แรงงานย้ายถิ่นต้องได้รับ ด้วยข้อตกลงพหุภาคีหรือทวิภาคีว่าด้วยประกันสังคม
  • สร้างความคุ้มครองทางสังคมอย่างถ้วนหน้า รวมถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อพัฒนาความสามารถในการตั้งรับเหตุการณ์ เตรียมพร้อมผู้คนให้รับมือ ดำรงชีวิต และปรับตัวอย่างแข็งแกร่งและยืดหยุ่นสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่ทันตั้งตัวในวันข้างหน้า เช่น วิกฤตสภาพภูมิอากาศหรือวิกฤตสุขภาพ
  • ต้องมีบริการสังคมสาธารณะที่มีคุณภาพดี เข้าถึงได้จากทุกคนที่ต้องการ รัฐต้องยุติกระบวนการทำให้บริการสังคมสาธารณะกลายเป็นทรัพย์สินเอกชน เพื่อลดจำนวนเงินที่ต้องสูญเสียจากการจ่ายเงินให้ระบบสุขภาพและการศึกษา รัฐบาลต้องเพิ่มภาษีกำไรธุรกิจ กิจกรรมการเงิน ความร่ำรวย บริการดิจิตอล ในอัตราก้าวหน้า และต้องจัดสรรค่าใช้จ่ายสาธารณะใหม่ เพื่อการลงทุนที่สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคมในวงกว้าง

ความมั่นคงและความสงบสุขของมนุษย์

โลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนและเผชิญภัยคุกคามการดำรงชีวิตสูงมาก โดยเฉพาะในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นความซับซ้อนที่ไม่เคยเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายทศวรรษ การแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ได้ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคนี้ยุ่งยากขึ้น วิกฤตยูเครนเองก็เกิดจากขั้วอำนาจใหญ่เป็นศัตรูกันแล้วเพิกเฉยกฎหมายระหว่างประเทศ จนทำให้เกิดการแข่งขันสะสมอาวุธเพื่อกองกำลังทหารที่เหนือกว่า ลดทอนสภาพแวดล้อมอันสงบสุขและมั่นคงในเอเชียและอาเซียน นอกจากนี้สถานการณ์ในเมียนมาก็ทำให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังโควิด-19 ได้ยาก เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาวะของชาวเมียนมาและชาวอาเซียนโดยทั่วไป ความขัดแย้งและข้อพิพาทที่ไม่มีวันจบสิ้นใน ‘พื้นที่เสี่ยงภัย’ เช่น ทะเลจีนใต้ คาบสมุทรเกาหลี ช่องแคบไต้หวัน หรือการก่อการร้ายและความเชื่อศาสนาการเมืองแบบสุดโต่งก็กำลังคุกคามความมั่นคงและการดำรงชีวิตของผู้คน

ประเด็นความมั่นคงที่ไม่เหมือนแบบแผนยังคงดำเนินต่อไป มีความซับซ้อนและอันตรายขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลลบกับผู้คน ชุมชน หรือแม้แต่รัฐเอง ด้วยมลพิษในสิ่งแวดล้อม ภาวะเร่งด่วนของสภาพภูมิอากาศ การย้ายถิ่น การบังคับย้ายชนพื้นเมืองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ออกจากถิ่นฐานเดิม เช่น ชาวขแมร์กรอม และยังมีวิกฤตผู้ลี้ภัยจากอาการเกลียดกลัวอิสลาม การเหยียดเชื้อชาติ การเกลียดกลัวผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือชาวต่างชาติ  เราขอยืนยันว่า:

  1. ต้องออกกระบวนการเชิงรุกเพื่อจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎบัตรสหประชาชาติ ข้อตกลงสันติภาพปารีส 1991 (พ.ศ. 2534) และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 1982 (พ.ศ. 2525) และยกเว้นการใช้กำลังหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ควรส่งเสริมการปรึกษาหารือเพื่อรับมือกับความขัดแย้ง เปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยเพื่อความมั่นคงที่ทุกฝ่ายต่างมีร่วมกัน
  2. ใช้กระบวนการที่จำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางการทหาร และโยกย้ายงบประมาณนั้นไว้ใช้สำหรับความจำเป็นทางสังคมด้านอื่น สร้างความโปร่งใสในการทำบัญชีซื้อขายอาวุธ สนับสนุนการให้สัตยาบันสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1995 (พ.ศ. 2538) และขยายรูปแบบอาเซียนเขตปลอดนิวเคลียร์ไปยังภูมิภาคอื่นของโลก รวมเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. ใช้ปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อรับมือภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์และการดำรงชีวิตที่แตกต่างจากแบบฉบับ ด้วยความยั่งยืน เช่น ปรับตัวกับสภาพภูมิกาศ สร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ใช่พลังงานน้ำ และปกป้องคุ้มครองแหล่งน้ำในแม่น้ำโขง
  4. อาเซียนต้องยึดถือโครงสร้างในภูมิภาคที่มีสิทธิเป็นฐาน และต้องมีกลไกของประชาชนเพื่อสร้างสันติสุข ความมั่นคง และสิทธิมนุษยชน

ภูมิภาคนิยมแบบทางเลือกของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เป็นเวลามากกว่า 50 ปีแล้วที่อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ถือกำเนิดขึ้น แต่กลับไม่สามารถรับหรือแก้ไขปัญหาและความกังวลต่างๆ ของประชาชนได้ นอกจากนั้นยังเอื้อประโยชน์ให้กับแค่ชนชั้นนำ กลุ่มคณาธิปไตยการเมือง ผลประโยชน์ธุรกิจ จนทำให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำแย่ลง

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองของทางการอาเซียนนั้นเป็นการแก้ปัญหาแบบเป็นครั้งคราว ไม่มีประสิทธิภาพ และผลักคนไปให้ไปอยู่ชายขอบ โดยเฉพาะแรงงานหญิงย้ายถิ่น แรงงานนอกระบบ กลุ่ม LGBTQIA+ ชนพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐ ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ แรงงาน และคนจนเมือง รัฐบาลอาเซียนยังใช้วิกฤตนี้เป็นเครื่องมือกำจัดความเห็นต่างและสร้างข้อมูลเท็จเพื่อขัดขวางและทำให้การเคลื่อนไหวของราษฎรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังลง

แม้ว่าจะมีความพยายามต่างๆ เหล่านี้ การรวมตัวของผู้คนและชุมชนรากหญ้ายังคงดำเนินต่อไป โดยสร้างหนทางใหม่เผื่อบรรเทาผลกระทบรุนแรงจากโรคระบาดและเน้นการสร้างความร่วมแรงร่วมใจและการช่วยเหลือกันข้ามพรมแดน

ด้วยความพยายามของภาคประชาสังคมเพื่อรวมตัวและมีส่วนร่วมกับอาเซียน เราได้รับภูมิปัญญามากพอที่จะเคลื่อนไหวให้ไกลกว่าการมีส่วนร่วมกับกลไกรัฐระดับภูมิภาค และใช้ภูมิปัญญานั้นเพื่อสร้างสรรค์วิสัยทัศน์ภูมิภาคนิยมแบบทางเลือก ที่เกี่ยวโยงกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มรากหญ้า ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความร่วมมือและได้ประโยชน์ร่วมกัน สิ่งที่มีเหมือนกัน และพัฒนาร่วมกัน

ภูมิภาคนิยมทางเลือกนี้เป็นวิธีการสำคัญเพื่อสร้างการมองเห็นและยอมรับสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างออกไป เดิม ไม่ว่าจะเป็นรสนิยมทางเพศ ตัวตนและการแสดงออกทางเพศ ลักษณะทางเพศ เงื่อนไขการทำงานที่ปลอดภัยและค่าแรงสำหรับดำเนินชีวิต ความคุ้มครองทางสังคม สิทธิในที่ดิน ทรัพยากร และความสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง การเข้าถึงบริการสาธารณสุข การช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงทางเพศและการกีดกันทางเพศ สิทธิดิจิตอล การปฏิรูปเกษตรกรรมและระบบอาหารอย่างยั่งยืน ที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน และกระบวนการวางผังเมือง

รูปแบบภูมิภาคนิยมทางเลือกนี้เข้มแข็งขึ้นและได้รับการผลักดันจากการแลกเปลี่ยนระหว่างคนสู่คน (People-to-People Exchange) ที่ทำให้ผู้คนสามารถเรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้จากกันและกัน แบ่งปันทรัพยากร สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และพัฒนายุทธศาสตร์ได้

กระบวนการในการรวมตัวกันนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ฐานของความเป็นพี่น้องกันข้ามพรมแดนจากผู้คนที่ไม่ได้พึ่งพิงรัฐ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชาสังคม ด้วยความสัมพันธ์นี้ เราได้รู้จักนโนบายระดับชาติและนโยบายระหว่างประเทศที่ก้าวหน้าและที่สามารถนำไปใช้กับรัฐบาลต่อได้ ด้วยการกดดันและการเคลื่อนไหวรวมกลุ่ม สิ่งที่จำเป็นสำหรับกระบวนการฯ ที่เข้มแข็ง คือการสร้างเครือข่ายบนฐานของความผูกพันที่มีร่วมกัน การเชื่อมโยงกันผ่านช่องทางการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้มาเจอกันและสร้างกิจกรรมที่เป็นทางเลือกของการพัฒนา เราขอยืนยัน

  1. ให้สร้างความเข้มแข็งของความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันข้ามพรมแดนและความรู้สึกร่วมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเปิดพื้นที่พัฒนาและใช้ประโยชน์จากข้อปฏิบัติที่ดีของกลุ่มชายขอบและองค์กรรากหญ้า และสร้างกระบวนการเคลื่อนไหวด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชน หาประเด็นข้ามพรมแดนที่มีร่วมกัน หากลไกสนับสนุน ทั้งการให้ทุนและการตั้งองค์กรในหลายรูปแบบหลายประเด็นในขณะเดียวกัน รัฐสมาชิกต้องทบทวนหลักการไม่แทรกแซงของอาเซียนและเคารพความชอบธรรมของภาคประชาสังคม
  2. การปฏิรูปการเมืองนั้นต้องเกิดขึ้นโดยที่ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม กฎหมายแรงงานต้องรับประกันสิทธิของคนทำงาน ทั้งแรงงานย้ายถิ่น ผู้ทำงานบ้าน แรงงานนอกระบบ โดยเฉพาะสิทธิที่จะสามารถตั้งสหภาพแรงงาน ประท้วงหยุดงานและเจรจาต่อรองร่วมกันได้ รวมทั้งต้องยุติการฟ้องร้องผู้นำแรงงานโดยทันที ความรุนแรงทางเพศในสถานที่ทำงานต้องได้รับการแก้ไขผ่านการเรียนรู้บทเรียนร่วมกัน ผ่านกลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งขององค์กร จัดทำข้อเสนอแนะ และมาตรการตอบสนอง
  3. ต้องดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ปฏิบัติงานทางเลือกจากคนสู่คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายกิจกรรมนี้ด้วยการร่วมมือกับภูมิภาคอื่น นอกจาก ACSC และ APF

บทสรุปและกิจกรรมต่อไป

APF หรือวงประชุมประชาชนอาเซียน 2022 อันมีความหมายอย่างยิ่งนี้ จัดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน วงประชุมนี้สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยน บทสนทนา และการอภิปรายในวงกว้างสำหรับประเด็นที่มีความน่ากังวลในหลายพื้นที่ ประกอบด้วย

  • การปกป้องคุ้มครองพื้นที่พลเมืองจากเผด็จการทหารนิยม — รัฐสมาชิกอาเซียนไม่สามารถทำตามข้อบังคับที่จะเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้ ทำให้เกิดผู้คนทั่วภูมิภาคต้องทุกข์ทรมาน เป็นผลจากเผด็จการทหารนิยม  อาเซียนทำได้แค่สร้างภาพที่สวยงามและเซ็นชื่อรับรองกลไกและสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและระหว่างประเทศเท่านั้น ต่อจากนี้ อาเซียนต้องยึดถือหลักการสิทธิมนุษยชนและพยายามสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยนชนทุกหนแห่งมากขึ้น
  • ต่อสู้กับเสรีนิยมใหม่ เพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ และอธิปไตยทางอาหาร — ในขณะที่อาเซียนพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านข้อตกลงเสรีการค้าและเชื่อแบบผิดๆ ว่าการเติบโตของเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่ความเจริญ อาเซียนและรัฐสมาชิกนั้นกำลังด้อยคุณค่าของประชาชน เพื่อแก้ไขความผิดนี้ อาเซียนต้องมีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ตั้งแต่ขั้นตอนแรก พร้อมใช้หลักการการตัดสินใจและให้ความยินยอมอย่างอิสระและได้รับข้อมูลล่วงหน้า (FPIC) ในการทำธุรกิจใดๆ ก็ตามในพื้นที่ของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งใช้เป็นพื้นฐานของการหารือนโยบายด้วย
  • ชีวิตที่มีเกียรติ: ความคุ้มครองทางสังคม งานที่มีคุณค่า ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 — การที่โควิด-19 ระบาดได้เปิดโปงว่าเรามีโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และควรเป็นบทเรียนให้รัฐสมาชิกอาเซียนและติมอร์เลสเต ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะสร้างความคุ้มครองทางสังคมอย่างถ้วนหน้า สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐต้องทำโดยพัฒนาศักยภาพที่จะตอบสนองต่อความต้องการ
  • ความมั่นคงและความสงบสุขของมนุษย์  – ผู้นำในยุคปัจจุบันมักชอบพูดถึงความสงบสุขหากปราศจากสงคราม แต่กลับคุ้มครองความมั่นคงของมนุษย์ด้วยการกำลังทหาร หากมีสงครามก็จะไม่เกิดสันติภาพทางจิตใจและทางสิ่งแวดล้อม  แต่ถ้าเสริมกำลังทหารก็ละเลยความมั่นคงของมนุษย์ด้านอื่นๆ ไป ซึ่งกำลังคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ เราจึงจำเป็นต้องสร้างกระบวนการเพื่อลดการใช้จ่ายของกองกำลังทหารและโยกย้ายงบประมาณนั้นเพื่อความจำเป็นทางสังคมอื่นๆ สร้างความโปร่งใสของการทำบัญชีซื้อขายอาวุธ สนับสนุนการให้สัตยาบันสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสนธิสัญญากรุงเทพฯ 1995 (พ.ศ. 2538) และเพิ่มงบประมาณสำหรับภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์รูปแบบใหม่
  • ภูมิภาคนิยมทางเลือกของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – หลังจากมีการก่อตั้งอาเซียนในฐานะกลไกการทำงานในภูมิภาคมามากกว่า 50 ปี การประชุมประจำปีเมื่อได้ฤกษ์งามยามดีของรัฐมนตรีระดับสูงและประธานการประชุมก็สร้างความเชื่อมั่นแบบผิดๆ ว่ารัฐบาลเป็นองค์กรเดียวที่จะนำภูมิภาคนี้เติบโตไปได้ จนถึงตอนนี้ก็แน่นอนแล้วว่าความร่วมแรงร่วมใจระหว่างคนกันเองต่างหากที่ทำให้อาเซียนแข็งแกร่ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติหรือภัยพิบัติโดยมนุษย์ หรือโรคระบาดโควิด-19  ฉะนั้นแล้ว ต้องปฏิรูปการเมืองโดยให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม กฎหมายแรงงานต้องรับประกันสิทธิของแรงงาน แรงงานย้ายถิ่น แรงงานทำงานบ้าน และแรงงานนอกระบบ


อาเซียนได้รับรอง “สิทธิมนุษยชน” ในเอกสารทางการกฎบัตรอาเซียน 2007 (พ.ศ. 2550) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในมาตรา 14 เกี่ยวกับการก่อตั้งองคาพยพด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนและสร้างพื้นที่สำหรับส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในเดือนตุลาคม 2009 (พ.ศ. 2552) AICHR ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องจากประชาสังคมและนานาประเทศ แต่จนถึงตอนนี้ AICHR ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง หลังจากนั้นไม่นานอาเซียนก็รับรองคำประกาศอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AHRD) และคำประกาศพนมเปญในปี 2012 (พ.ศ. 2555) โดยไม่มีการบังคับใช้ทางกฎหมายในแต่ละประเทศ ฉะนั้นแล้ว จึงต้องทบทวนข้อกำหนดของ AICHR เสียใหม่ ให้เป็นไปตามโครงสร้างสิทธิมนุษยชนของอาเซียน

ด้วยความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ เราเชื่อว่าความพยายามรวมกลุ่มของเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย เพื่อคนที่เรารัก เพื่อประชาชน และสังคมที่ก้าวหน้า

เรา ตั้งใจทำงานร่วมกันกับพันธมิตรของเราทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติเพื่อการเปลี่ยนผ่านทางสังคมอย่างมีความหมาย ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นธรรม ความเท่าเทียม สุขภาวะ และการดำรงชีวิตอย่างสงบสุขของประชาชนทั่วภูมิภาค

เรา เรียกร้องให้รัฐสมาชิกอาเซียนและติมอร์เลสเตยึดถือหลักสิทธิมนุษยชนและโครงสร้างในภูมิภาคที่มีสิทธิเป็นพื้นฐาน และยึดถือกลไกที่นำโดยประชาชน เพื่อความสงบสุข ความมั่นคง และเพื่อสิทธิมนุษยชน

เรา เรียกร้องให้อาเซียนและรัฐสมาชิกปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานและยึดถือหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรอาเซียน 2007 (พ.ศ. 2550) และกฎหมายระหว่างประเทศ กดดันเผด็จการทหารให้สละอำนาจและคืนประชาธิปไตยแก่เมียนมาเพื่อปกป้องคุ้มครองล้านชีวิตที่กำลังเผชิญความเสี่ยง

เรา ราษฎรเรียกร้องให้อาเซียนและรัฐสมาชิกหารือร่วมกับตัวแทนของรัฐ ได้แก่ SOM AMM เสาหลักประชาคมอาเซียน AICHR ACWC ACMW และเลขาธิการอาเซียน เพื่อรับประกันว่าอาเซียนนั้นเห็นประชาชนเป็นศูนย์กลาง

เรา ตั้งหน้าตั้งตารอความก้าวหน้าจากผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียน ที่จะปฏิบัติตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2025 คำประกาศสิทธิมนุษยชนอาเซียน และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ผู้ออกนโยบายและผู้มีอำนาจบริหารต้องมีความรับผิดและเจตจำนงทางการเมืองที่จริงจัง

เรา ภาคประชาสังคมต้องร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกเพื่อสร้างความเข้มแข็งและร่วมแรงร่วมใจ ต่อสู้กับเผด็จการทหารนิยมและการข่มเหงจากรัฐทั่วโลก และต้องหาช่องทางสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อการต่อต้าน

เรา ผู้เข้าร่วม ACSC และ APF ปี 2022 ขอขอบคุณองค์กรเจ้าภาพ คณะกรรมการอำนวยการระดับภูมิภาค กรรมการในคณะทำงาน ผู้ประสานงานพื้นที่ร่วมต่างๆ ผู้จัดเวิร์คช็อป ผู้บรรยาย ผู้ร่วมพูดคุย อาสาสมัคร ล่าม เจ้าหน้าที่เชิงเทคนิค และเจ้าหน้าที่ในงานนี้

เรา รอคอยที่จะได้รวมตัวกันอีกครั้ง ที่อินโดนีเซีย 2023

ร่วมมือกัน เราถึงจะชนะ!
ราษฎร จะไม่มีวันแพ้ เมื่อเรารวมตัว!

ประกาศในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2022 กรุงพนมเปญ กัมพูชา

.

แปลอังกฤษ-ไทย โดย กุลณัฐ จิระวงศ์อร่าม

Translated Engnlish-Thai by Kunlanat Jirawong-aram


[1] เลือกใช้คำตาม Thisable.me (ผู้แปล)

[2] หรืออาจใช้คำว่าภูมิรัฐศาสตร์ได้ (ผู้แปล)