ASEAN Civil Society Conference (ACSC) /ASEAN Peoples’ Forum (APF), a parallel conference of the ASEAN summit, is a space where people and civil society take a role and engage in the movement for social change through the voices of people for the ASEAN leaders and policymakers.
This year was organized under the theme of “Defending and Asserting Southeast Asian Peoples Civic Space, Democracy, and Human Rights Towards an Equitable and Just Society” which was led by the Cambodian chairman.
“Defending and Asserting Southeast Asian Peoples Civic Space, Democracy, and Human Rights Towards an Equitable and Just Society”
The 17th conference was held during 3-5 November 2022 at Phnom Penh that joined by more than 500 participants to discuss, share, and exchange on 5 main topics; 1) Southeast Asian Peoples’ Alternative Regionalism 2) Defending Civic Space from Militarism & Authoritarianism 3) Combating Neoliberalism for Economic Justice, Climate Justice, and Food Sovereignty 4) Life with Dignity: Social Protection, Decent Work, and Healthcare for All in the Post COVID-19 Recovery and 5) Peace and Human Security.

There’s also a solidarity action for Myanmar who are now bravery resisting the dictatorship in the country together with the regional solidarity statement to call on ASEAN governments and business sectors to take responsibility and take concrete action to stop the crimes against humanity of Myanmar people as the following detail;
“We, the Southeast Asian people from Brunei Darussalam, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, the Philippines, Singapore, Thailand, Timor Leste, and Vietnam are united and stand in solidarity with the people of Myanmar from all diverse ethnic and religious communities, the women, children and elderly, with Rohingya people, LGBTQIA+ people, pro-democracy activists, farmers, workers and defenders who stand tall against the military junta.
We, the people, condemn the Myanmar military who massacred and killed over 2,400 people, and tortured, raped, disappeared, arrested, and persecuted tens of thousands more. We condemn the junta’s constant airstrikes, ground attacks, and torching of villages in its terror campaign against the entire nation. You may have the guns and the uniform, but you are an illegitimate power in the eyes of the Southeast Asian people. The Myanmar military junta is criminal of genocide, war crimes, and crimes against humanity.
We, the people, condemn the ASEAN’s failure to stop the atrocities in Myanmar, to prevent the loss of innocent lives, and to prevent the further horrendous crimes. The Five-Point Consensus has yet to make any meaningful progress in ceasing escalating violence and alleviating the suffering of people through humanitarian aid. It is ASEAN’s obligation to respect, protect, and fulfill human rights; all their actions must be in respect and in unity with the people of Myanmar.
We, the people:
- Call on to ASEAN leaders to move beyond the Five-Point Consensus, to stop inviting the junta representatives to all ASEAN meeting including AICHR and ACWC. International community must stop deflecting responsibility to ASEAN.
- We call on the international community to impose targeted sanctions and a global arms embargo against Myanmar, to cut financial and weapons flow to the military junta. And to bring perpetrators to justice through available avenues including the cases at the International Court of Justice (ICJ) and the International Criminal Court (ICC) and universal jurisdiction cases.
- We call on the private sector in Southeast Asia to cut business ties with the junta, including Thailand’s PTT company.

We, the Southeast Asian people, recognize the legitimate power of the people in Myanmar in the hands of the National Unity Government (NUG). The international community must mirror our voices and those of the Myanmar people, recognize and support the NUG and work with ethnic revolutionary organizations to establish a federal democratic Myanmar.
We, the Southeast Asian people, stand in solidarity with the people of Myanmar.
Until the military is defeated
Until the democracy is established
Until all lives are respected with dignity
People united in solidarity for Myanmar!
The revolution must prevail”
III
https://www.facebook.com/acscapf2022/videos/3471288143100775/

#acscapf2022 #APF2022 #AseanPeopleForum
การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน
การประชุมอาเซียนภาคประชาชนเป็นพื้นที่ที่ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในอาเซียนได้ พยายามเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในขบวน การขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านเสียงของประชาชนไปสู่ผู้นำอาเซียนและกลุ่มผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรืออาเซียนซัมมิท โดยปีนี้มีการจัดงานภายใต้ธีมหลัก “ปกป้องและยืนยันพื้นที่ของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน เพื่อมุ่งสู่ความเท่าเทียมและสังคมที่เป็นธรรม” โดยมีประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ
ปกป้องและยืนยันพื้นที่ของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน
เพื่อมุ่งสู่ความเท่าเทียมและสังคมที่เป็นธรรม
ในปีนี้เป็นเวทีปีที่ 17 มีการประชุมเมื่อ 3-5 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงพนมเปญ โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 500 คน โดยมีห้อข้อหลักในการแลกเปลี่ยนกัน 5 ประเด็น คือ 1) ทางเลือกของประชาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการสร้างภูมิภาค 2) ปกป้องพื้นที่ของพลเมืองจากระบบทหารและอำนาจนิยม 3) การต่อสู้กับเสรีนิยมใหม่ เพื่อความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมของสภาพภูมิอากาศ และอธิปไตยทางอาหาร 4) ชีวิตที่มีศักดิ์ศรี หลักประกันทางสังคม งานที่มีคุณค่า และบริการสุขภาพสำหรับทุกคน ในสถานการณ์การฟื้นฟูหลังโควิด-19 และ 5) สันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์
ภายในงานยังมีกิจกรรมแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับพี่น้องชาวเมียนมาที่กำลังต่อสู้อย่างกล้าหาญกับเผด็จการทหารภายในประเทศ และมีการอ่านแถลงการณ์ร่วมของประชาชนอาเซียนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและกลุ่มนายทุนในประเทศอาเซียนแสดงความรับผิดชอบและมีปฏิบัติการเป็นรูปธรรมเพื่อหยุดอาชญากรรมต่อประชาชนเมียนมา โดยมีเนื้อหาดังนี้

“เรา ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากบรูไนฯ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ติมอร์เลสเต และเวียดนาม มารวมตัวกันและขอแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับประชาชนชาวเมียนมาหลากหลายศาสนาและชาติพันธุ์ ผู้หญิง เด็ก ผู้สูงอายุ ชาวโรฮินจา LGBTQIA+ นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เกษตรกร คนงาน และนักสู้ผู้ต่อต้านเผด็จการทหารอย่างขันแข็ง”
เรา ราษฎร ขอประณามกองทัพเมียนมาที่เข่นฆ่าผู้คนมากกว่า 2,400 ชีวิต ทรมาน-ข่มขืน-อุ้มหาย-จับกุม-ประหารอีกหลายหมื่นชีวิต เราประณามการโจมตีอย่างต่อเนื่องของกองทัพ ทั้งทางบก ทางอากาศ ก่อเพลิงผลาญหมู่บ้านด้วยเจตนาก่อการร้ายคร่าคนทั้งประเทศ กองทัพอาจมีอาวุธและเครื่องแบบ แต่ไม่มีอำนาจอันชอบธรรมในสายตาประชาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผด็จการทหารเมียนมาคืออาชญากรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก่ออาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
เรา ราษฎร ขอประณามอาเซียนที่ไม่สามารถหยุดยั้งความรุนแรงในเมียนมาได้ ไม่สามารถคุ้มครองชีวิตผู้บริสุทธิ์ได้ และไม่สามารถป้องกันอาชญากรรมอันโหดร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ ฉันทามติ 5 ข้อ ไม่ได้ทำให้การยุติความรุนแรงคืบหน้า ไม่ได้ช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของผู้คนที่ต้องการการช่วยเหลืออย่างมีมนุษยธรรม อาเซียนมีหน้าที่เคารพ คุ้มครอง และโอบอุ้มสิทธิมนุษยชน ทุกการกระทำของอาเซียนต้องเคารพและมีจุดยืนเป็นหนึ่งเดียวกับประชาชนชาวเมียนมา
เรา ราษฎร ขอร้องเรียกผู้นำอาเซียนทั้งหลายว่าคุณทำได้มากกว่าฉันทามติ 5 ข้อ จงยุติการเชิญชวนตัวแทนเผด็จการทหารเข้าร่วมการประชุมอาเซียนทุกการประชุม รวมทั้ง AICHR และ ACWC และเราเรียกร้องให้นานาประเทศหยุดปัดความรับผิดชอบให้แก่อาเซียน

เราร้องเรียกนานาประเทศให้ออกมาตรการคว่ำบาตรแบบเจาะจงและห้ามค้าขายอาวุธแก่เมียนมา เพื่อตัดช่องทางอาวุธและการเงินของเผด็จการทหาร และให้นำผู้กระทำผิดได้รับโทษผ่านกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ เช่น การขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) หรือคดีเขตอำนาจตามหลักสากล
เราร้องเรียกภาคเอกชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ยุติการดำเนินธุรกิจกับเผด็จการทหาร รวมถึง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ใหญ่สุดของเผด็จการทหารเมียนมา
เรา ราษฎรแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคารพอำนาจอันชอบธรรมของประชาชนชาวเมียนมาในนามของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ทั้งนี้นานาประเทศต้องเคารพเสียงของเราและประชาชนชาวเมียนมา เคารพและสนับสนุนรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ รวมทั้งทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อปฏิวัติและก่อตั้งสหพันธรัฐประชาธิปไตยเมียนมา
เรา ราษฎรแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดยืนหนึ่งเดียวกับพี่น้องชาวเมียนมา
จนกว่าเผด็จการจะพินาศ
จนกว่าประชาธิปไตยจะเบ่งบาน
จนกว่าทุกชีวิตจะมีเกียรติ
เรา ราษฎรรวมตัวกันเพื่อชาวเมียนมา!
ขอสายลมแห่งการปฏิวัติจงเจริญ”
III

แปลอังกฤษ-ไทย โดย กุลณัฐ จิระวงศ์อร่าม
Translated English-Thai by Kunlanat Jirawong-aram